ก่อนที่จะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวชม พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เราขอจะพาไปรู้จักกับคำว่า เรือพระราชพิธี กันก่อนครับ
เรือพระราชพิธี เป็นเรือที่ใช้ในพิธีทางชลมารคที่เรียกกันว่า "กระบวนพยุหยาตรา ชลมารค" ซึ่งเป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ ที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกระบวนเรือจะจัดรูปกระบวนเรือรบในแม่น้ำตามตำราพิชัยสงคราม ซึ่ง เรือพระราชพิธี มีความวิจิตรสวยงามในฝีมือช่างต่อเรืออันล้ำเลิศ ทรงคุณค่าในงานศิลปกรรม และถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของคนไทย นอกจากนี้ เรือพระราชพิธีเหล่านี้ ยังถูกนำมาใช้งานอยู่อย่างต่อเนื่อง กรมศิลปากรจึงเล็งเห็นความสำคัญและได้ขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่างๆ ไว้เป็นมรดกของชาติ พร้อมทั้งยกฐานะของอู่เก็บเรือขึ้นเป็น พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ เรือพระราชพิธี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 ส่วน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ตั้งอยู่ที่ไหน ภายใน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี จัดแสดงอะไรบ้าง กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวชมกันครับ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เดิมเป็นอู่หรือโรงเก็บเรือพระราชพิธี อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังและกองทัพเรือ เมื่อคราวเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อู่และเรือพระราชพิธีบางส่วนถูกระเบิดได้รับความเสียหาย ดังนั้น ในปี พ.ศ.2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือ ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร จัดทำการซ่อมแซมดูแลรักษาบรรดาเรือต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีเหล่านี้ ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด และตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางกอกน้อย ถนนอรุณอัมรินทร์ ตรงข้าม สถานีรถไฟบางกอกน้อยนั่นเองครับ
ภายใน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี มีอาคารตั้งอยู่จำนวน 2 หลัง นั่นก็คือ อาคารสำนักงานของ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และ อาคารห้องจัดแสดง เรือพระราชพิธี คือ โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเก่า ซึ่งเป็นต้นแบบเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9, เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์, เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์, เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9, เรือครุฑเหินเห็จ, เรือกระบี่ปราบเมืองมาร, เรืออสุรวายุภักษ์, เรือเอกไชยเหินหาว และจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ประกอบต่างๆ ใน พระราชพิธีทางชลมารค เช่น บัลลังก์บุษบก บัลลังก์กัญญา พายชนิดต่างๆ และเครื่องแต่งกายของเหล่าฝีพาย
โขนเรือ เรือพระที่นั่ง และเรือประกอบในพระราชพิธีทั้ง 9 ลำ มีดังนี้ครับ
1.โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเก่า ซึ่งเป็นต้นแบบเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
สร้างขึ้น ในสมัย รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อว่า มงคล สุบรรณ หัวเรือเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ ต่อมาใน รัชกาลที่ 4 ได้เสริมรูปพระนารายณ์ ยืนประทับบนหลังพญาสุบรรณ แล้วขนานนามว่า เรือนารายณ์ ทรงสุบรรณ ต่อมาเรือได้เสื่อมสภาพลง คงเหลือแต่ โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเก่า เก็บรักษาไว้ และได้นำมาเป็นต้นแบบโขนเรือ ในการสร้าง เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
2.เรือ พระที่นั่งสุพรรณหงส์
โขนเรือเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง เป็น มีโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นอื่นๆ ประทับเป็นแต่บางครั้ง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 มีนาวาสถาปนิก หรือ ผู้ต่อ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ คือ พลเรือตรี พระยาราชสงคราม รน. (กร หงสกุล) ใช้ฝีพาย 50 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธง 1 คน พลสัญญาณ 1 คน และ คนเห่เรือ 1 คน
โขนเรือเป็นรูปพญาอนันตนาคราช หรือนาค 7 เศียร เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ลำปัจจุบันมีการสร้างใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง โดยปกติจะใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน หรือประดิษฐานบุษบกสำหรับพระพุทธรูปสำคัญ ใช้ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน
4.เรือพระที่นั่งอเนกชาติ ภุชงค์
ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินลำลอง ภายหลังนำเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นเรือพระที่นั่งรอง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นเรือพระที่นั่งลำเดียว ในรัชกาลนั้น ลักษณะเด่นคือมีโขนเรือเชิดเรียว แต่ไม่ได้สร้างเป็นรูปสัตว์ในตำนาน จำหลักและปิดทองเป็นรูปพญานาคจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า อเนกชาติภุชงค์ (อเนก หมายถึง จำนวนมาก, ชาติภุชงค์ หมายถึง พญานาค) ลำเรือภายนอกทางสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง ใช้ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน
5.เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง ลำเดิมสร้างขึ้น ในสมัย รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อว่า มงคลสุบรรณ หัวเรือเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ ต่อมาใน รัชกาลที่ 4 ได้เสริมรูปพระนารายณ์ ยืนประทับบนหลังพญาสุบรรณ แล้วขนานนามว่า เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ ต่อมาเรือได้เสื่อมสภาพลง คงเหลือแต่ โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเก่า เก็บรักษาไว้ แต่เนื่องจากความงดงาม และความสำคัญในสัญลักษณ์ของโขนเรือ ที่เป็นเชิงเทิดพระเกียรติ สถาบันพระมหากษัตริย์ ทางกรมศิลปากรร่วมกับกองทัพเรือ และสำนักพระราชวัง สร้างเรือลำนี้ใหม่ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเรือพระที่นั่งต่อใหม่นี้ว่า เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
โขนเรือ จำหลักรูปพระนารายณ์ 4 กร ทรงเทพศาสตรา ตรี คฑา จักร สังข์ ทรงเครื่องภูษิตาภรณ์ และ มงกุฏยอดชัย ประทับยืนบนหลังพญาครุฑ แกะสลักจากไม้ ลงรักปิดทองประดับกระจกตลอดทั้งลำ ลวดลายเขียนลายดอกพุดตานพื้น ท้ายเรือคล้ายท้ายเรืองพระที่นั่งอนันตนาคราช แต่ส่วนเหนือมาลัยท้าย เป็นสร้อยหางครุฑ ปลายหางสุดของท้ายเรือเป็นกนกหางครุฑ ท้องลายของท่อนหางเป็นขนครุฑ ท้องเรือภายในทาสีแดง ใช้ฝีพาย 50 คน
โขนเรือเป็นรูปครุฑ เป็นเรือประกอบขบวนในงานพระราชพิธี ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ซึ่งเรือลำนี้ ถูกระเบิดได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2487 พร้อมกับ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และ เรือเอกไชยเหินหาว ต่อมากรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.2491 หลังจากนั้น จึงนำโขนเรือเดิมมาทำขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2511 โดยใช้หัวเรือเดิมนำมาบูรณะ ส่วนท้ายเรือทำใหม่ ได้รับการบูรณะเป็นระยะๆ และได้ใช้ในงานพระราชพิธี จนกระทั่งปัจจุบัน
7.เรือกระบี่ปราบเมืองมาร
โขนเรือสลักรูปขุนกระบี่ ปิดทองประดับกระจก ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ซึ่งเรือลำนี้ถูกระเบิด ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2487 พร้อมกับ เรือครุฑเหินเห็จ และ เรือเอกไชยเหินหาว ต่อมากรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.2491 หลังจากนั้น จึงนำโขนเรือและท้ายเรือเดิม มาทำเป็นเรือขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2510 ได้รับการบูรณะเป็นระยะๆ และได้ใช้ในงานพระราชพิธี จนกระทั่งปัจจุบัน
โขนเรือสลักเป็นรูปยักษ์กลายเป็นนกสีคราม ปิดทองประดับกระจก เป็นเรือในหมวดรูปสัตว์ต่างๆ ได้รับการบูรณะอยู่เป็นครั้งคราว และมีการบูรณะครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2524 เพื่อใช้ในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2525 ปัจจุบัน เป็นเรือหนึ่งในหมู่กระบวนเรือพระที่นั่งในงานพระราชพิธีต่างๆ
โขนเรือเขียนลวดลายเป็นรูปจระเข้หรือเหรา(อ่านว่า เห - รา) ไม่พบหลักฐานที่สร้าง เรือลำนี้ได้ถูกระเบิดเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2487 พร้อมกับ เรือครุฑเหินเห็จ และ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร ต่อมากรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี 2491 หลังจากนั้น ทำการตกแต่งบูรณะตัวเรือใหม่เมื่อปี พ.ศ.2508 และมีการบูรณะครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2524 เพื่อใช้ในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2525 ปัจจุบัน เรือเอกไชยเหินหาว เป็นหนึ่งในกระบวนเรือพระที่นั่งในงานพระราชพิธีต่างๆ
หากเพื่อนๆ อยากไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ก็สามารถไปเยี่ยมชมได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดครับ โดย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เปิดทำการตั้งแต่ 09.00 - 17.00 น. ปิดเพียง 2 วัน คือ วันปีใหม่ และวันสงกรานต์ โดย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ตั้งอยู่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามสถานีรถไฟบางกอกน้อย หากไปไม่ถูก สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ได้ที่หมายเลข 02 - 424 - 0004 ครับ ส่วนค่าเข้าชม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำหรับชาวไทย เสียค่าบริการคนละ 10 บาท ส่วนชาวต่างชาติ เสียค่าบริการคนละ 30 บาท ส่วน นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบ รวมถึงพระภิกษุสามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ สามารถเข้าชมโดยไม่ต้องเสียค่าบริการใดๆ ครับ
ได้รู้จัก พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี กันแล้ว ว่างๆ ก็อย่าลืมแวะไปเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของ เมืองไทยแห่งนี้กันนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น